Google Drive บริการฝากไฟล์ แบบออนไลน์ที่ครอบคลุมมากกว่า
Google Drive เป็นบริการฝากไฟล์บนแบบออนไลน์ที่ทำให้การโอน และแชร์ไฟล์นั้นมีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มมีผู้ให้บริการ Clound Storage เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ กูเกิ้ล ไดร์ฟ ดูจะแตกต่างตรงที่สามารถครอบคลุมบริการต่างๆ ของกูเกิ้ลให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้อย่างง่ายดาย พร้อมพื้นที่ที่ให้ใช้งานได้ฟรีถึง 5 GB หากต้องการมากกว่านี้ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยจะใช้งานผ่านทางเว็บของกูเกิ้ลหรือจากโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ก็ได้
1.การขอใช้บริการ Google Drive
ให้เข้าไปที่ "drive.google.com/start" เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับบริการต่างๆ จากนั้นไปที่ ที่ปุ่มสีฟ้าด้านขวาบน จากนั้นให้ลงชื่อขอใช้บริการ กูเกิ้ลไดร์ฟ ด้วยแอคเคาท์ของกูเกิ้ล (gmail) สำหรับใครที่ยังไม่มีก็ให้ไปสมัครเสียก่อน แต่ถ้ามีการเปิดใช้งานไว้อยู่แล้ว (อยู่ในสถานะลงชื่อเข้าใช้) ก็จะเสร็จสิ้นกระบวนการขอใช้บริการทันที โดยสังเกตุว่าจะมีคำว่า "ไดร์ฟ" (Drive) เพิ่มขึ้นมาที่แถบเมนูด้านบนแล้ว
2.การติดตั้ง Google Drive บนคอมพิวเตอร์
เมื่อขอสิทธิ์ในการใช้บริการเสร็จแล้ว ก็จะสามารถติดตั้ง กูเกิ้ล ไดร์ฟ สำหรับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้ (ใช้ได้ทั้ง Mac และ PC) ให้ยอมรับเงื่อนไขและทำการติดตั้งโปรแกรม
ใส่ชื่อบัญชีของกูเกิ้ลอีกครั้ง จากนั้นให้กด Start sync เพื่อเริ่มใช้งาน หรือเลือกหัวข้อ Advance Setting ที่มุมซ้ายล่างเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งโฟลเดอร์ของ กูเกิ้ล ไดร์ฟ หรือปรับแต่งส่วนอื่นๆ ก่อนก็ได้
3.การใช้งาน Google Drive บนคอมพิวเตอร์
การใช้งาน กูเกิ้ล ไดร์ฟ บนคอมพิวเตอร์เหมือนกับการใช้โปรแกรม Dropbox โดยเราสามารถใช้งานภายในแฟ้มของ กูเกิ้ล ไดร์ฟ ได้เหมือนเป็นพื้นที่บนคอมพิวเตอร์ของเราเอง เมื่อทำการเพิ่มโฟลเดอร์หรือไฟล์ลงไปก็จะทำการอัพโหลดขึ้นไปเก็บไว้บน Clound Server (ต้องมีอินเตอร์เน็ต) ทีนี้ไม่ว่าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องไหนของเพียงมีโปรแกรม กูเกิ้ล ไดร์ฟ และเข้าใช้งานในชื่อบัญชีเดียวกันก็จะสามารถโหลดข้อมูลต่างๆ มาได้ทันที
4. การใช้งาน Google Drive บนเว็บ
สิ่งที่ กูเกิ้ล ไดร์ฟ เหนือกว่าผู้ให้บริการ Clound Storage รายอื่นๆ ก็ตรงที่การเชื่อมต่อข้อมูลให้สามารถใช้ได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ และบนเว็บของกูเกิ้ล ซึ่งดีตรงที่ไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ และสามารถสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้โหลดเสร็จก่อนแต่ข้อเสียก็คือต้องโหลดทีละไฟล์ (โฟลเดอร์) นั่นแหละ
หากจะเพิ่มไฟล์ก็เลือกว่าจะส่งเป็นไฟล์หรือจะไปทั้งโฟลเดอร์ และก็สามารถอัพโหลดได้ทีละหลายๆ อัน แต่ถ้าจะให้ง่ายกว่านั้นก็ลากไฟล์จากเครื่องของเราเข้าไปใน My Drive บนเว็บ กูเกิ้ล ไดร์ฟ เลยก็ได้ นอกจากนี้ Creat ที่แถบเมนูด้านซ้ายยังใช้ในการสร้างไฟล์เอกสารงานต่างๆ ได้อีกด้วย
5. การจัดการไฟล์ใน My Drive
สำหรับการใช้งานบนเว็บเมื่อคลิกขวาที่ไฟล์จะเห็นว่ามี คำสั่งเพิ่มเติมอยู่เยอะพอสมควร ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคำสั่งที่ต้องใช้บ่อยทั้งสิ้น เช่น Organize ใช้ในการย้ายไฟล์ไปที่โฟลเดอร์อื่น, Rename ใช้เปลี่ยนชื่อ, Mark as (un)viewed ใช้ปิด-เปิด รูปภาพหรือไฟล์ที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็น, Download สามารถโหลดเป็นโฟลเดอร์ได้, Prevent viewers fordownloading ป้องกันไม่ให้คนอื่นนอกจากเราโหลดออกไปได้
และ Trash ที่ใช้ลบไฟล์ เป็นต้น
6. การแชร์ไฟล์กับเพื่อนและคนอื่นๆ
กูเกิ้ล ไดร์ฟ ให้สิทธิ์ในการแบ่งปันไฟล์กับคนอื่นๆการแชร์ จะสามารถทำได้เฉพาะการใช้งานบนเว็บเท่านั้น เพียงคลิก ขวาที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ในไดร์ฟของเราจะมีคำว่า "Share" ซึ่งสามารถแชร์ไฟล์ให้กับเพื่อนบน Gmail, Google+, Facebook หรือ Twitter ได ้ นอกจากนี้ยังใหสิ้ทธ์ิในการเขา้ ถึงไฟล์อีก 3 ช่องทาง คือ Public on the web เมื่อมีการค้นเจอผ่านทางกูเกิ้ล หรือ Anyone with the link ใช้ในการแจกลิ้งค์
ของไฟล์ตามเว็บต่างๆ และสุดท้าย Private แบบส่วนตัวที่เข้าถึงไฟล์ได้เฉพาะเรา และคนที่อยู่ในรายชื่อเท่านั้น และยังสามารถตั้งสิทธิในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงไฟล์นั้นๆ ได้อีกด้วย ในการเพิ่มรายชื่อก็เพียงใส่ชื่ออีเมลของคนที่มี กูเกิ้ลไดร์ฟ เท่านั้น และเมื่อไฟล์ถูกส่งไปก็จะมีการแจ้งเตือนทางจีเมลด้วย
7. การใชง้าน Google Drive รว่ มกับสมารท์ โฟน
ไม่เพียงแค่บนคอมพิวเตอร์แต่ในสมาร์ทโฟนเองก็สามารถใช้ กูเกิ้ล ไดร์ฟ ได้เช่นกัน เพียงโหลดแอปพลิเคชั่น GoogleDrive ใส่เอาไว้ในเครื่อง และทำการล็อกอินด้วยชื่อบัญชีเดียวก็สามารถทำการเชื่อมต่อได้ทันที ซึ่งแม้ว่าบางไฟล์นั้นอาจมีปัญหาเนื่องจากเครื่องหรือระบบปฏิบัติการไม่รองรับ แต่ก็สามารถจัดการและแชร์ข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกกว่า (เพราะไม่ต้องเดินไปเปิดคอม)
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงความสามารถในการทำงานส่วนหนึ่งของ กูเกิ้ล ไดร์ฟ เท่านั้น เพราะมันยังทำอะไรได้อีกหลายอย่าง ทั้งการทำงานร่วมกับ Google+ และการปรับแต่งข้อมูลอีกหลายๆ อย่าง แต่ก็คิดว่าสิ่งที่นำเสนอน่าจะมีประโยชน์กับการใช้งานเบื้องต้น นอกจากนี้ กูเกิ้ล ไดร์ฟ ก็น่าจะมีบทบาทกับบริการใหม่ๆ ของกูเกิ้ลในอนาคตด้วย ลองศึกษาหามาใช้ดูก็ไม่เสียหายนะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น